kam

kam
นางสาว จารุวรรณ เชี่ยวชล

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Computer Assisted Language Learnin


Computer Assisted Language Learning (CALL)and English Language

Teaching in ThailandAdvantages & Disadvantages ofCALL in Language Learning


ในแง่ของการสอนภาษาเชื่อกันว่า CALL จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เอาชนะข้อจำกัดที่ขัดขวางการเรียนรู้และการสอนภาษาได้เป็นอย่างดี    (Barson & Debski, 1996; Chapelle, 1997; 2003; Salaberry, 1999; Warschauer, 1996; 1997; 2002; 2004; Warschauer & Healey, 1998; Warschauer & Kern, 2005; Yang, 2008). การศึกษาเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นผลสอดคล้องกับแรงจูงใจและความพยายามของการใช้ CALL ในการสอนภาษาโดยการกระทำของผู้เรียน   ในทางเดียวกันนี้การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษาหรือCALL ได้แบ่งเครื่องมือสำคัญในการเรียนภาษาออกเป็นหลายเหตุผลด้วยกัน

ประการแรก, การใช้งาน CALL เพื่อช่วยในการเรียนภาษาได้จัดเตรียมข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับนักเรียน 

  ในขณะนี้นักเรียนมีโอกาสมีปฏิบัติทักษะสำคัญในการเรียนภาษาอย่างน้อยหนึ่งทักษะหรือมากกว่านั้น อันได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพราะว่านักเรียนต้องใช้หรือออกเสียงข้อความที่เป็นภาษาเป้าหมายเพื่อสื่อความหมายแก่ผู้ฟังที่ไม่เฉพาะใช้แต่ในห้องเรียนเท่านั้น(Garrett, 1982).

ครูสามารถใช้ CALL เพื่อจัดการเข้าถึงที่ง่ายและรวดเร็วต่อแหล่งข้อมูลในการเรียนภาษาที่หลากหลายและส่วนประกอบมัลติมีเดียของข้อมูลที่สร้างสรรค์และน่าเชื่อถือที่ครูไม่สามารถนำเสนอให้โดยปราศจากเครื่องช่วยเหลือที่เพิ่มเติมมา

  กิจกรรม ดังเช่น การแก้ไขปัญหา (problem-solving), information gap, เกมส์เกี่ยวกับภาษา, กราฟฟิกเสมือนจริง ได้สร้างขึ้นจาก CALL ที่ครูได้ให้นักเรียนฝึกหัดโดยใช้ภาษาเป้าหมาย  ด้วยชิ้นงานของจริงนี้ทำให้นักเรียนต้องมีปฏิกิริยากับบริบทของภาษาที่มีใช้อยู่จริง และตัดสินใจหาข้อยุติความหมายของภาษาเป้าหมายอย่างกระตือรือร้น
 
อันเนื่องมาจาก, Skinner & Austin (1999) กล่าวว่าความสนใจ แรงจูงใจ และความมั่นใจของนักเรียนจะได้รับการส่งเสริม  ในทางตรงกันข้าม Warschauer (2004) อ้างว่าประการหนึ่งที่บอกถึงประโยชน์ในการเพิ่มแรงจูงใจคือการที่นักเรียนใช้เวลากับชิ้นงานมากขึ้นขณะที่พวกเขากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่

ในประการที่สอง Swain และ Lapkin ได้ให้ความหมายกับการสื่อสารแบบไม่ต่อเนื่องกันหรือ CMC ที่มีส่วนช่วยผู้เรียนภาษา นั่นก็คือ ปฏิสัมพันธ์ ที่ได้มีระหว่างผู้เรียน เพื่อผลตอบรับของการใช้ภาษาของพวกเขา

และสร้างเอ๊าท์พุตต์ที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นอินพุตต์สำหรับผู้เรียนในสาขาอื่น ๆ (Egbert, 2004) ได้ให้ข้อเท็จจริงที่นักเรียนไทยที่มีพื้นฐานพฤติกรรมขี้อาย   นักเรียนไทยได้รับการผลักดันให้สื่อภาษาผ่าน CALL และสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียน เพื่อความสะดวกในระดับหนึ่ง  ซึ่งผลที่ตามมา

ผู้ใช้ CALL  มีพื้นฐานในการพัฒนาแนวความคิดของตัวผู้เรียน  และทักษะพื้นฐานในการใช้ภาษา นอกจากนั้นการเรียนรู้โดยรวมได้เกิดทักษะในกระบวนการเรียนรู้ การคิด ของผู้เรียนและมีความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ประการที่สาม
ผู้เรียนภาษามีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ห้องเรียนหรือ ครูอาจจะไม่สามารถที่จะมีแนวทางในการตอบสนองวัตถุประสงค์เหล่านั้น  CALL ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างกว้างขวางด้วยข้อมูลต่างๆ และส่งเสริมตามที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้งานแต่ละคนเกิดความสมบูรณ์ และตอบสนองความต่อความหลากหลายของผู้เรียน แม้แต่มีห้องเรียนเดียวก็ตาม
Ahmad et al. (1985, p. 116) ได้ยืนยันว่าคอมพิวเตอร์นั้นสามารถที่จะให้ความสนใจแก่ผู้เรียน คนที่ต้องการแก้ไขหรือเพิ่มความสามารถ และยกระดับความคล่องแคล่วของเขา และเพื่อเลือกกิจกรรม หรืองานที่เหมาะสมต่อรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคน ยิ่งไปกว่านั้น,พวกเขาสามารถที่จะเรียนซ้ำ ทวนซ้ำบทเรียนของเขาได้ทุกที่ ทุกเวลาเพื่อพวกเขาต้องการที่จะเข้าใจบทเรียนทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น